8 เดือนไทยส่งออกไปรัสเซียติดลบ 35.43 %
นายกิตตินันท์ ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ได้ส่งกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดรัสเซียอย่าง รุนแรงในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย 2565 หลังจากนั้นอัตราการหดตัวก็เริ่มชะลอตัวลงเป็นลำดับ โดดยในเดือน ส.ค. ไทยมีมูลค่าการส่งออก 61.5 ล้านดอลลาร์ ขยับตัวเพิ่มจากเดือนที่ผ่านมา 32% แต่หาก เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลง -25.10% ภาพรวม 8 เดือนแรกไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียมูลค่า 400.31 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 35.43%
อย่างไรก็ตาม การส่งออกไทยที่ติดลบเริ่มมีแนวโน้มการชะลอตัวที่ลดลงเป็นลำดับ โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ของรัสเซียทุเลาลง โดยมีสายการเดินเรือใหม่ๆ ในแถบเอเซียเข้ามาให้บริการขนส่งสินค้าเข้า-ออกรัสเซียมากขึ้นเพื่อทดแทนสายการเดินเรือหลักของยุโรปที่ถอนตัวออกไป นอกจากนี้ยังได้อานิสงค์จากเงินรูเบิลที่แข็งค่าขึ้นมากเพื่อ เทียบกับเงินดอลลาร์ช่วยให้ต้นทุนสินค้านำเข้าไปสูงเกินไป อย่างไรก็ตามสินค้าหลักทุกหมวดล้วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยจากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียของ ประเทศตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนการเข้าถึงเงิน สกุลหลัก การขาดแคลนชิ้นส่วนในระบบห่วงโซ่อุปทาน และที่สำคัญที่สุดคือระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ถูก จำกัด และขาดความแน่นอน
นายกิตตินันท์ กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและประเทศตะวันตก พบว่ามาตรการคว่ำบาตรฯ ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถทำลายเศรษฐกิจของรัสเซียในระยะเวลาอันรวดเร็วได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างที่ประเทศตะวันตกคาดหวัง โดยรัสเซียยังคงมีรายได้ทดแทนจากการส่งออกสินค้าพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ ไปยังทวีปเอเชียและยังมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าสหภาพยุโรปที่จำเป็นต้องอาศัยพลังงานของรัสเซีย
อีกทั้งรัสเซีย ก็สามารถหามาตรการอื่นๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความปั่นปวนทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้เป็นที่น่าพอใจ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนบ้างคือ ภาวะเงินเฟ้อ การขาดแคลนสินค้าบางอย่างที่รัสเซียไม่สามารถนำเข้า ได้เหมือนเดิมและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ติดลบ รวมทั้งผลกระทบในระยะยาวจากธุรกิจของต่างชาติที่ ทยอยถอนตัวออกจากรัสเซีย การขาดแคลนอุปกรณ์และชิ้นส่วนของยานยนต์และระบบบการผลิต และการขาดเงิน ลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เป็นต้น
ในส่วนของการค้าไทยกับรัสเซียมีมูลค่าไม่มากนัก โดยที่ผ่านมาไทยพึ่งพาหมวดอุตสาหกรรมหลักที่ไทยออกส่งออก ไปรัสเซียคือ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่เคยมีมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 30% ซึ่งหากรวมเอายาง รถยนต์และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเข้าไปด้วยแล้ว ก็จะทำให้มีสัดส่วนรวมถึง 40% ของการส่งออกของไทยทั้งหมด แต่มาตรการคว่ำบาตรฯ และความปั่นป่วนของห่วงโซ่อุปทานได้ส่งผลลบต่อ อุตสาหกรรมเหล่านี้ค่อนข้างรุนแรงจนทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทยไปยังรัสเซียในปี 2565 หกตัวลงในอัตราสูง
สำหรับโครงสร้างสินค้าส่งออกจากไทยไปยังตลาดรัสเซียในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2565 พบว่า กลุ่มสินค้า อุตสาหกรรมการเกษตร มีความโดดเด่นโดยยังสามารถขยายตัวได้ดีใชช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ ขณะที่ กลุ่มสินค้า อุตสาหกรรม เป็นกลุ่มสินค้าหลักที่ครองส่วนแบ่งการส่งออกจากไทยทั้งหมดประมาณเกือบ 70% ปรับตัว ลดลงจากสัดส่วนปกติที่เคยอยู่ในระดับ 80% ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้กระจายออกเป็นหมวดรถยนต์ อุปกรณ์ และ ส่วนประกอบเป็นสินค้าหลัก สัดส่วน 19.43% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังรัสเซีย
สำหรับสินค้าออื่นๆ ที่ไทยส่งออกไปยังรัสเซีย มีประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในขณะนี้คือการขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศที่มีผลมาจากมาตรการคว่ำบาตรฯ ซึ่งเส้นทางการขนส่งหลักทางทะเลของสินค้าไทยมักใช้เส้นทางผ่านยุโรป ไปยังท่าเรือเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ เหลือเพียงท่าเรือเมืองวลาดิวอสตอคในตะวันออกไกลของรัสเซียที่จำเป็นต้องขนส่งต่อจากท่าเรือโดยทางรางไปยังฝั่งตะวันตกที่เป็นที่ตั้งของเมืองเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มีสายการเดินเรือใหม่ๆ ในเอเชียเข้ามาให้บริการทดแทนและคาดว่าสถานการณ์การ ขาดแคลนจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
ขณะนี้สถาการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและกลุ่มประเทศตะวันตกได้เริ่มปะทุขึ้นอีกครั้งจากความ พยายามที่รัสเซียจะผนวกเอาดินแดนบางส่วนของยูเครนเข้ามาเป็นของตนผ่านกระบวนการการลงประชามติ ในช่วงปลายเดือน ก.ย. นี้ จนอาจจะพัฒนาไปสู่สงครามที่มีความรุนแรงขึ้ยโดยกลุ่มประเทศนาโต้จะเข้า มาร่วมเป็นคู่ขัดแย้งกับรัสเซียโดยตรง ซึ่งย่อมมีผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจและการค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้